การใช้สีสังเคราะห์ในอาหารมีวัตถุประสงค์เพื่อให้อาหารมีสีสวยงาม สะดุดตา หรือทดแทนสีที่จางไปในขบวนการผลิต แต่อาจมีการใช้สีเติมลงในอาหารบางประเภทเพื่อปกปิดคุณภาพที่เปลี่ยนไป เช่น สีในกุ้งแห้ง เนื้อเค็ม และปลาเค็ม หรือทำให้เข้าใจผิดว่าอาหารนั้นใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพดีเพื่อลดต้นทุนการผลิต เช่น สีในข้าวเกรียบกุ้ง และเส้นบะหมี่ เป็นต้น
กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ออกประกาศฉบับที่ 66 (พ.ศ.2525) กำหนดชนิดอาหารห้ามผสมสี ได้แก่ ผลไม้สด ผลไม้และผักแปรรูป ปลาแห้ง กุ้งแห้ง แหนม ไส้กรอก และลูกชิ้น แต่ปัจจุบันยังคงตรวจพบสีในอาหารห้ามใช้สีเป็นจำนวนมาก สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร จึงได้จัดทำชุดทดสอบขึ้นเพื่อให้สามารถนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว และมีความแม่นยำ เพื่อขยายขอบข่ายงานคุ้มครองผู้บริโภค
ผลกระทบต่อสุขภาพ
ถ้าร่างกายได้รับสีสังเคราะห์เป็นประจำ สีสังเคราะห์จะดูดซึมที่เยื่อบุระบบทางเดินอาหาร ทำให้ขัดขวางการหลั่งเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยอาหาร และเกิดการเบื่ออาหาร ร่างกายไม่เจริญเติบโต
ตัวอย่างเป้าหมาย
ลูกชิ้น แหนม ผัก หรือผลไม้แปรรูป เนื้อสัตว์ปรุงรส เส้นบะหมี่ น้ำพริก ข้าวเกรียบ ไส้กรอก กุ้งแห้ง ทอดมัน กะปิ กุนเชียง
Contain: 20 test
Shelf Life: 1 year
ความไวชุดทดสอบ
ระดับต่ำสุดที่ตรวจได้ 2 มิลลิกรัม / กิโลกรัม
อุปกรณ์ชุดทดสอบ
- น้ำยา 1 1 ขวด
- น้ำยา 2 2 ขวด
- น้ำยา 3 2 ขวด
- น้ำยา 4 2 ขวด
- ถ้วยพลาสติก 2 ใบ
- หลอดแก้ว 2 หลอด
- ขวดพลาสติกพร้อมฝาปิด 2 ขวด
- ช้อนพลาสติก 2 อัน
- หลอดหยด 2 อัน
- คอลัมน์บรรจุผงละเอียดสีขาว 20 อัน
- ช้อนคนพลาสติก 2 อัน
มาเป็นคนแรกที่วิจารณ์ “ชุดทดสอบสีสังเคราะห์ในอาหาร 20 test”